ท่านั่งและการจับไม้ขิม
ตำแหน่งการนั่งตีและท่านั่งเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่มองข้ามทั้งๆที่มันส่งผลอย่างมากต่อการบรรเลง ตำแหน่งการนั่งที่ดีไม่ได้มีกำหนดตายตัวว่าจะต้องห่างจากตัวขิมเท่าใดจึงจะเหมาะสม เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลเพราะขนาดตัวของผู้บรรเลง และช่วงความยาวของแขนในแต่ละคนไม่เท่ากัน ปกติตำแหน่งนั่งเมื่อมองจากด้านหน้าก็จะอยู่ตรงแนวกลางของขิมไม่เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
เมื่อวางตำแหน่งขิมแล้วลองนั่งดูจับไม้ขิมแล้วลองเงื้อไม้ไปตีตำแหน่งโน้ตที่อยู่ไกลๆ ถ้าต้องเอื้อมแขนมากจนต้องงอหลังมากๆ แสดงว่านั่งห่างไปให้เขยิบตัวเข้าใกล้ขิมมากขึ้นจนรู้สึกว่าตีได้ถนัดโดยไม่ต้องเอื้อมเอี้ยวตัวมาก ถ้านั่งในตำแหน่งที่เอี้ยวตัวเอื้อมไปข้างหน้ามากๆจะส่งผลให้น้ำหนักไม้ขิมที่จรดบนสายขิมไม่หนักแน่นและตีขิมที่โน้ตไกลๆพลาดได้ง่าย ทำให้เมื่อยง่ายด้วย
ในทางกลับกันถ้าลองตีโน้ตใกล้ๆตัวในโซนเสียงต่ำที่สุดด้านล่างอย่างเสียง ลา ต่ำด้านขวามือถ้าขยับแขนแล้วรู้สึกอึดอัดติดข้างลำตัวก็แสดงว่าอยู่ใกล้ขิมเกินไปให้ขยับตัวออก ให้นั่งขยับมือ แขน ไม้ขิม และตัวขิมให้เข้าที่และถนัดที่สุด
สำหรับท่านั่ง เน้นว่าหลังจะต้องตรง ก้มหน้าเล็กน้อย ถ้าหลังค่อมก้มหน้ามากไป นอกจากจะไม่สวยงามแล้วก็จะทำให้เมื่อยหลังเมื่อยคอง่าย นั่งบรรเลงได้ไม่นาน ถ้าจะให้เรียบร้อยก็นั่งพับเพียบ ถ้านั่งเล่นสบายๆคนเดียวจะนั่งขัดสมาธิก็ได้ (สำหรับสุภาพสตรีอาจดูไม่งามหากนั่งขัดสมาธิ) ต่อมาคือไหล่ต้องไม่ยก แนวหัวไหล่ลงมาถึงข้อศอก กับแนวแขนตั้งแต่ข้อศอกจนถึงมือ จะต้องเป็นมุมฉากซึ่งกันและกัน หรือใกล้เคียงมุมฉาก (มองด้านข้างท่อนแขนจะค่อนข้างขนานกับพื้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น